วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 16 (07/10/2553)

สวัสดีคะวันนี้อาจารย์สอบปลายภาคนอกตาราง ซึ่งนัดทั้งสองกลุ่มมาสอบพร้อมกันบรรยากาศวันนี้เย็นสบายเพราะนั่งสอบห้องแอร์ แต่รู้บรรยากาศในห้องสอบค่อนข้างเคร่งเครียดสำหรับคนที่ไม่ส่งประเมินอาจารย์ผู้สอนและดิฉันรู้สึกตื่นเต้นกับบรรยากาศของการสอบเพราะไม่รู้ว่าอาจารย์จะออกข้อสอบเป็นยังงัย และเป็นวันสอบและการเรียนการสอนเป็นวันสุดท้ายของภาคเรียนที่ 1

ดิฉันรู้สึกว่าตลอดเวลาที่เรียนมาทั้งภาคเรียนที่1 ดิฉันได้ความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน เกมการศึกษา วิธีการผลิตสื่อผลิตเกมการศึกษาและแนวทางวิธีการนำไปใช้และไปสอนซึ่งดิฉันคิว่าความรู้ทั้งหมดที่ได้รับสามารถนำไปประกอบอาชีพและไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กได้เป็นอย่างมากนอกจากได้ความรู้ทางวิชาการแล้วเรียนวิชานี้ยังได้เรียนรู้ในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ที่อาจารย์ผู้สอนในรายวิชานี้ได้สอนได้อบรม ควบคู่ไปกับเนื้อหาสาระ

ดิฉันขอขอบคุณอาจารย์ที่ได้สอนและอบรมสั้งสอนดิฉันจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้อย่างเมาะสมและถูกต้อง

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 15 (30/09/2553)

สวัสดีคะวันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากไม่สบายแต่ดิฉันติดตามการสอนในคาบเรียนจากเพื่อนที่ได้เข้าเรียนและติดตามงานที่เพื่อนได้ทำกิจกรรมกันคือ

อาจารย์ให้แต่ละคนทำป้ายนิเทศที่ตัวเองอยากทำหน่วยอะไรก็ได้และอาจารย์ให้โอกาสคนที่ไม่ได้เข้าเรียนไปทำป้ายนิเทศมาส่งได้

ดิฉันมีความรู้สึกว่าอาจารย์มีความเมตตาที่จะให้คนที่ไม่มาเรียนได้มีโอกาสที่จะส่งงานย้อนหลังได้

ป้ายนิเทศของดิฉันคือหน่วย ของใช้ในชีวิตประจำวัน




วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 14 (23/09/2553)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆวันนี้บรรยากาศในการเรียนดีเพราะอากาศเย็นฝนตก วันน้ไม่ได้เรียนในห้องแอร์เพราะไม่สะดวกในการเรียน
จึงย้ายห้องมาเรียนห้องธรรมดาวันนี้จึงได้ย้ายห้องเรียนตั้ง 2 ห้อง อาจจะเป็นผลดีเพราะทำให้ไม่ง่วงนอน
วันนี้นำเสนอของที่ไว้เล่นกับแป้งโดทีละกลุ่ม และอาจารย์ก็ได้คอมเมนต์และให้ข้อเสนอแนะว่าควรจะหาอะไรที่เด็กเล่นแล้วปลอดภัย แล้วจะไปทำยังงัยที่ประดิษฐ์ของเหลือใช้ให้มีหลายรูปแบบและควรที่จะประดิษฐ์จากของเหลือใช้เพราะประหยัดค่าใช้จ่ายและสมารถเห็นถึงคุณค่าของเหลือใช้มากขึ้น จากนั้นก็คุยถึงเกมการศึกษาที่นำมาส่ง จากนั้นอาจารย์คอมเมนต์เรื่องของบล๊อกที่โพตส์นั้น ให้นักศึกษาไปดูแนวการเรียนการสอน เกณฑ์การให้คะแนน และ ให้ไปปรับปรุงแก้ไข และดูของเพื่อนที่อาจารย์ให้คำแนะนำเพื่อเป็นตัวอย่างที่จะให้เพื่อนๆไปปรับปรุงของตัวเองให้ดีขึ้น





บันทึกครั้งที่ 13 (16/09/2553)

สวัสดีอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้อาจารย์ให้เตรียมอุปกรณ์มาทำแป้งโด ดิฉันและเพื่อนตื่นเต้นกันเพราะไม่เคยทำมาก่อน บรรยากาศในการเรียนเป็นบรรยากาศที่น่าเรียน และเพื่อนบางกลุ่มก็ไม่ได้นำอุปกรณ์มาก็มารวมกลุ่มกับคนที่นำมา

อุปกรณ์ในการทำ มี
แป้งสาลี นํ้า นํ้ามันพืช นํ้ามันมะกอก สีผสมอาหาร เกลือ สารส้ม กะทะ ตะหลิว

ขั้นตอนของกลุ่มทำ
นำแป้งสาลีใส่ 2 ถ้วย
เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ
สารส้มตำละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
นํ้ามันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ
นํ้ามันพืช 2 ช้อนโต๊ะฅนจนให้ส่วนผสมเข้ากัน
เติมนํ้าพอเหลว
จากนั้นตั้งไฟฅนจนแป้งได้ที่
จากนั้นใส่สีผสมอาหารนวดให้เข้ากัน เพื่อนๆ แย่งสีกันใหญ่เพราะทุกคนอยากนวดแป้งกลัวไม่ได้นวดทำให้การทำแป้งโดในครั้งนี้สนุกสนาน แล้วอาจารย์ให้ไปหาสิ่งที่สามารถเล่นกับแป้งโดได้มาและหากล่องเก็บแป้งโดให้เรียนร้อย




วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 12 (09/09/2553)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อน วันนี่อาจารย์ได้นัดให้มาสอบเก็บคะแนน เวลา 09.00 น วันนี้ฉันนำเกมการศึกษมมาส่งแต่เพื่อนบอกดิฉันว่ายังไม่ต้องส่งก่อนก็ได้เพราะอาจารย์ให้ส่งวันอื่นได้ดิฉันเลยนำเกมการศึกษาไปแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อย

บันทึกครั้งที่ 11 (02/09/2553)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้อาจารย์ให้กลุ่ม1และกลุ่ม2มาเรียนด้วยกันตอนเช้าและอาจารย์ให้ส่งงานที่มอบหมายไว้ บรรยากาศของวันนี้เรียนชั้น 1 ของตึกคณะ เหมือนไม่มีห้องเรียนก็ไม่รู้ แต่อันที่จริงแล้ว อาจารย์ตรวจผลงานต้องใช้โต๊ะในการวางผลงาน จากนั้นก็พากันไปเรียนที่ห้องเรียนชั้นบน แล้วเ๙็คงานว่าครบหรือไม่ครบ ของดิฉันส่งครบ

>> งานกลุ่มของวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2553 (แต่อาจารย์ให้ส่งเป็นงานเดี่ยว)
>> งานที่ถ่ายเอกสารแล้วทำเป็นภาพเคลื่อนไหว
>> งานที่ตัดกระดาษ 3 ชิ้น ป๊อบอัพ

ผลงานหนู













และวันนี้ดิฉันเห็นเพื่อนอีกกลุ่มนำเกมการศึกษามาส่งแต่อาจารย์ยังไม่ได้สั่งกลุ่มของดิฉัน แล้วอาจารย์ก็ได้สั่งให้กลุม2 ทำ แล้วอาจารย์ก็นำเกมการศึกษามาให้ดูมีหลายรูปแบบเพื่อเรียนรู้และได้แบ่งกลุ่มกันเล่นจนครบ

เกมการศึกษาที่เล่นกันเป็นกลุ่ม




วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 10 (26/08/2553)

สวัสดีคะ วันนี้อาจารย์ไม่ได้สอนเนื่องจากอาจารย์ติดงานที่ไปรับเสด็จ แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานของอาทิตย์ที่แล้วให้นักศึกษาไปทำให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมส่งอาทิตย์หน้า

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 9 (19/20/2553)

สวัสดีคะอาจาร์ยและเพื่อนๆ วันนี้อาจาร์ยตรวจงานที่สั่งไว้แล้วให้ไปทำให้เสร็จสมบูรณ์ งานชิ้นที่สองให้ไปดูงานของเพื่อนแต่ละกลุ่มมาเขียนเป็นของตนเอง และวันนี้อาจารย์ให้พับกระดาษตัดเป็นรูปปากและอื่นๆอาจารย์บอกให้ไปออกแบบทำภาพให้สมบูรณ์ ส่งทั้ง 3 ชิ้นพร้อมกันในพฤหัสหน้า

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 7 (29/07/2553)

เกมภาพและสัญลักษณ์






หมายเหตุ เป็นเกมการศึกษาที่ไปแก้ไขมาใหม่ คือ เกมภาพและสัญลักษณ์ หน่วย ผลไม้

และสามารถเป็นเกมโนมิโนได้อีกด้วย



จุดประสงค์ของเกม
- เพื่อฝึกให้เด็กสังเกต
- เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมพันธืระหว่างมือกับตา
- เพื่อฝึกให้เด็กมีกระบวนการจำ
- เพื่อฝึกให้เด็กมีกระบวนการเรียนรู้
- เพื่อฝึกให้เด็กมีคุณะรรมจริยธรรม

คุณค่าที่เด็กได้เล่นเกม ดังนี้
- เด็กได้พัฒนาความสามารถในการคิดและจำ
- เด็กเกิดการสังเกต
- เด็กได้พัฒนาการใช้ประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
- เด็กได้รู้จักชื่อผลไม้
- เด็กมีความรับผิดชอบ(เล่นแล้วเก็บตามที่กำหนดให้)








สวัสดีุคะอาจารย์วันนี้ได้เรียนเกี่ยวกับ เกมการศึกษา ความหมาย (เด็กต้องลงมือกระทำกับวัตถุ เด็กก็จะเกิดทักษะ)
และดิฉันไึด้นำเกมการศึกษาที่ได้ไปร่างมา ให้อาจารย์ดู ของดิฉันเป็นเกมการศึกษา จับคู่ภาพ ตัวเนื้อคือ จับคู่ภาพเหมือนในหน่วย สัตว์

จุดประสงค์ของเกมจับคู่ภาพ
<< เพื่อฝึกทักษะกระบวนการจำ
<< เพื่อฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
<< เพื่อฝึกจำแนกด้วยสายตา
<< เพื่อฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบ

คุณค่าของการเล่นเกมจับคู่ภาพ
<< พัฒนาความสามารถในการคิดและจำ
<< ฝึกการสังเกต
<< พัฒนาการใช้ประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
<< เด็กมีความรับผิดชอบ(เล่นแล้วเก็บตามที่กำหนดให้)

วัสดุที่ใช้ในการทำ
<< ฟิวเจอร์บอร์ดเหลือใช้ รูปภาพสัตว์หน่วยี่จะใช้สอน กาว กรรไกร สติ๊กเกอร์ใส กล่องกระดาษลัง


ขั้นตอนในการทำ
<< ตัดฟวเจอร์บอร์ดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดพอประมาณ
<< นำภาพสัตว์มาตัดตามรูปสัตว์
<< นำภาพมาติกกับฟิวเจอร์บอร์ด
<< นำสติ๊กมาติดเพื่อป้องกันภาพขาด


กติกาในการเล่น
- นำภาพสัตว์มาเรียงสลับกัน แล้วให้เด็กๆ ดู แล้วจำภาพกำหนดเวลา 3 นาที แล้วปิดภาพ จากนั้นให้เด็กๆ เลือกภาพที่เหมือนกันโดยที่เด็กคิดว่าจะอยู่ตำแหน่งใดที่ภาพเหมือนกัน แล้วบอกเด็กๆ ว่าหากเล่นเสร็จแล้วให้นำภาพเก้บใส่กล่องที่เตรียมไว้ให้







*** ขอเสนอแนะที่อาจารย์แนะนำ ***


(อาจารย์ได้บอกว่าให้เป็นสัตว์ประเภทเดียวกันเพราะเด็กจะได้รู้ว่า สัตว์ประเภทนั้นมีกี่ชนิด)


อาจารย์ให้นำภาพวันนี้ที่มาเสนอ ไปลงในบล๊อกและคำแนะนำของอาจารย์ วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงเกมการศึกษาความหมายเป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้พื้นฐานเกมการศึกษามุ่งเน้นให้เด็กได้ใช้สติปัญญาในการสังเกต และดูตัวอย่างประเภทเกมการศึกษา


*** ตัวอย่างประเภทเกมการศึกษาที่อาจารย์ให้ดู ***






วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 6 (22/07/2553)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ สำหรับวันนี้อาจารย์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสื่อและเกมการศึกษา ว่ามีอะไรบ้าง โดยจากเพื่อนหามา และของอาจารย์ทำให้รู้จักเกมการศึกษามากขึ้น
<< สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลาง นำความรู้จากครูสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมาย นั้นก็คือสื่อ

ความสำคัญ
<< ทำให้ให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ได้รับประโยชน์ตรง รวดเร้วเพลิดเพลิน เข้าใจง่าย
ลักษณะของสื่อทีดี
<< ต้องมีความปลอดภัยแก่เด็ก ประหยัด ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก
การประเมินการใช้สื่อ พิจารณาจากครูผู้ใช้สื่อ เด็กและสื่อ
<< สื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด << เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด << สื่อช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด


เกมการศึกษา

<< การเล่นที่ใช้ความคิดทำให้เกิดการเรียนรู้

ตัวอย่างเกมการศึกษา โนมิโน่ จิกซอ ความสัมพันธ์ 2 แกน เกมส์พื้นฐานการบวก หารายละเอียดของภาพ เป็นต้น

วันนี้อาจารย์ให้ไปคิดสื่อ มา 1 อย่าง ช่วงท้ายคาบอาจารย์เริ่มเคร่งเครียดบรรยากาศตึงเครียด

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 5 (15/07/2553)

สวัสดีคะ วันนี้อาจารย์ดูบล๊อกของแต่ละคนและได้คอมเม้นท์บล๊อก อาจารย์ได้ให้แต่ละคนไปเตรียมสื่อมาคนละ1 สื่อ มานำเสนอ


<< ดิฉันนำสื่อ นิทานร้อยเชือก เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี

<< วัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ฝึกให้เด็กได้รูจักสี ฝึกให้เด็กได้ใช้จินตนาการของตัวเองในการเล่านิทาน ได้ทักษะการสังเกตภาพที่เด็กร้อยด้วยเชือกเกิดเป็นภาพต่างๆขึ้น และทำให้เด็กๆเกิดความสนุกสนานผ่อนคลาย


<< และสื่อของเพื่อนๆ มีสื่อ ดังต่อไปนี้ เกมการศึกษา นิทานเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ จับคู่ภาพ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ จิกซอต่อภาพ บิงโกพาเพลิน ลวดหรรษา เป็นต้น ทำให้ดิฉันได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสื่อมากทีเดียว


<< อาจารย์ได้ให้ไปเกมการศึกษามาว่าเป็นอย่างไร อาจารย์จะมาสอนอาทิตย์หน้า




วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 4 (08/07/2553)

วันนี้ได้เรยีนรู้เรืองของ

<< ขั้นตอนในการใช้สื่อ
- ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
- ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรม
- ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ
- ขั้นสรุปบทเรียน
- ขั้นประเมินผู้เรียน

<< หลักในการใช้สื่อการเรียนการสอน
- เตรียมตัวผู้สอน
- เตรียมจัดสภาพแวดล้อม
- เตรียมพร้อมผู้เรียน
- การติดตามผล

<< การประเมินสมารถกระทำได้ใน3ลักษณะ
- การประเมินกระบวนการสอน
- การประเมินความสำเร็จของผู้เรียน
- การประเมินสื่อและวิธีการสอน

<< การแบ่งประเภทของสื่อ
<< ตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
<< ตามลักษณะของสื่อหรือการใช้งาน

ตามแนวคิดของ เฮ็ดการ์ เดล
กล่าวถึงกรวย 11 กลุ่ม
1. ประสบการณ์ตรง => เป็นรูปธรรม ลงมือกระทำจากวัตถุ ของจริง ประสาทสัมผัสทั้ง 5
2. ประสบการณ์รอง


วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 3 ( 01/07/2533)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้เป็นครั้งที่3ที่เรียน วันนี้อาจารย์ให้ส่งประวัติ แล้วให้นักศึกษาใส่ลิงค์ของตัวเองให้อาจารย์ จากนั้นอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนว่ามีอะไรบ้าง กระบวนการ แล้วอาจารย์จะสอนต่อคาบหน้าเพราะเวลาเรียนหมด

ความหายของสื่อการเรียนการสอน
>>หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราเช่น วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่สอนต่างๆ

สื่อกับผู้เรียน
- ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเรียนได้เร็วขึ้น
- ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ได้
- ทำให้เข้าใจเนิ้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากได้ง่ายขึ้นในระยะอันสั้น
- ให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ประยุกต์และปรับใช้
- ช่วยในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ไปสัมพันธ์กับสิ่งใหม่ได้ต่อเนื่องกัน
- ส่งเสริมการคิด การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์
- ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกกรมการเรียนการสอนมากขึ้น
- มีความเข้าใจเนื้อหาได้ตรงกัน
- ช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน
- ลดการบรรยายของผู้สอน
- ผู้สอนมีการตื่นตัวในการผลิตสื่อต่างๆ

หลักการเลือกสื่อการสอน
- สื่อต้องมีความสัมพันธ์มาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนที่คาดหวัง
- เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ
- เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
- สะดวก วิธีใช้ไม่ซับซ้อนไม่ยุ่งยากจนเกินไป
- เป็นสื่อที่มีคุณภาพ มีความชัดเจนและเป็นจริง

คุณค่าของสื่อ
<< ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนได้เร็วขึ้น ช่วยให้สนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ ทำให้เราเข้าใจบทเรียนที่มีเนื้อหายุ่งยากและซับซ้อนได้ง่ายในระยะเวลาอัน สั้น ให้ประสบการณ์รูปธรรมแก่ผู้เรียนและเกิดความประทับใจที่น่าจดจำแก่ผู้เรียน
ช่วยให้ในการศึกษาหาความรู้



บันทึกครั้งที่2 ( 24/06/2553)

สวัสดีคะอาจารย์และเพื่อนๆ วันนี้เป็นการเรียนครั้งที่2 วันนี้อาจารย์เข้าสอนช้า เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
เมื่ออาจารย์เข้าสอนก็อธิบายเกี่ยวกับสื่อ จากนั้นยกตัวอย่างการขี่จักรยานว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน แจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาใส่ลิงค์แต่เวลาไม่พอเลยขอดูบล๊อกเกอร์ของแต่ละคน

บันทึกครั้งที่ 1 (17/06/53)

สวัสดีคะอาจารย์ และเพื่อนๆ วันนี้เป็นการเรียนครั้งแรกของการเรียนของรายวิชานี้ อาจารย์ให้เขียนจุดเด่นของแต่ละคนที่สามารถให้อาจารย์และเพื่อนรู้ว่าเป็นตัวเรา แล้วอาจารยืปฐมนิเทศน์เกี่ยงกับเครื่องแต่งกาย
แล้วอาจารย์ให้สร้างบล๊อกเพื่อบันทึกการเรียนทุกครั้งเป็นแฟ้มสะสมผลงาน